อาคารบุญสม สุวชิรัตน์ (อาคาร 9)
50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นหนึ่งในสถาบันหลักของประเทศที่ดำเนินการเรียนการสอน และผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญด้านสาขาวิศวกรรมโยธา เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศ ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมการก่อสร้างได้มีการพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับบทบาทและการมีส่วนร่วมที่มากขึ้นขององค์กรระหว่างประเทศในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ดังนั้น ภาควิชาวิศวกรรมโยธาซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการหล่อหลอมบัณฑิตให้มีคุณวุฒิทางด้านความรู้ ความเป็นผู้นำ และความคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อเป็นกำลังสำคัญในหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนและตอบสนองต่อความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต
นอกจากนี้ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของภารกิจด้านวิชาการ จึงได้พัฒนาหลักสูตรทางด้านวิศวกรรมโยธาในระดับสูงในสาขาต่าง ๆ ได้แก่ วิศวกรรมโครงสร้าง วิศวกรรมปฐพี วิศวกรรมขนส่ง วิศวกรรมสำรวจ และการบริหารการก่อสร้าง เพื่อผลิตดุษฏีบัณฑิตและมหาบัณฺฑิตทางด้านวิศวกรรมโยธาที่มีความรู้ความสามารถในงานวิศวกรรมโยธาสาขาต่าง ๆ เพื่อการศึกษา ออกแบบ วิเคราะห์ วางแผนและบริหารโครงการ การวิจัยและพัฒนา สรรสร้างองค์ความรู้ใหม่ โดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้กับทรัพยากร สภาพแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรมของไทยได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่มีคุณภาพและมีทิศทางที่ชัดเจน
Planning Scheduling & Controlling | Contract, Specification & Construction Estimation | BIM | Sustainable | Materials & Methods of Construction | Supervision & Inspection | Project Investment Analysis
Concrete & Engineering Materials | Mechanics of Materials | Structural Analysis | Reinforced Concrete | Prestressed Concrete | Timber & Steel Structures | Bridge & Building | Structural Damage & Rehabilitation | Wind & Earthquake
Soil Mechanics | Foundation Design | Geo-environmental Engineering | Soil Behavior Determination | Design of Earth & Rock-fill Dams | Soil Improvement | Geotechnical Earthquake | Rock Mechanics
Transportation Planning | Highway | Smart Cities | Traffic Analysis | Logistics | Highway & Traffic Safety | Pavement Design | Urban Transportation | Urban Mass Transportation | Traffic Design & Operations
Surveying | Route Surveying | Photogrammetry | Geodesy | Geodetic Surveying | Remote Sensing | GIS | Satellite Surveying | Map Projection | Digital Cartography | Aerial Photography Interpretation
นับเป็นสาขาหลักในภาควิชาวิศวกรรมโยธา เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องโดยตรงในการออกแบบและทดสอบวัสดุที่ใช้ในงานวิศวกรรมโยธา เช่น โครงสร้างไม้ โครงสร้างเหล็ก โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งต้องพิจารณาแรงกระทำต่างๆ ต่อองค์อาคาร เช่น น้ำหนักบรรทุก แรงลม แรงแผ่นดินไหว และการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างโดยการวิเคราะห์ ออกแบบ โดยอาศัยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ร่วมด้วย ผลงานของวิศวกรโครงสร้างนั้นจะเป็นที่ประจักษ์ชัดต่อสาธารณชน ดังนั้นในการทำงานจึงต้องคำนึงถึงในด้านอื่นๆ ด้วย อาทิ ความสวยงาม ความปลอดภัย และความยั่งยืน
เกี่ยวข้องกับการเจาะสำรวจดินเพื่อการก่อสร้าง การออกแบบฐานรากของอาคารและสะพาน อุโมงค์ใต้ดิน การออกแบบและบำรุงรักษาเขื่อนดิน และรวมถึงการป้องกันวิบัติภัยทางธรรมชาติ ซึ่งต้องอาศัยทั้งความรู้ทางด้านธรณีวิทยา การตรวจวัด การสังเกต และการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่มีความซับซ้อน
เกี่ยวข้องกับการขนส่งมวลชน และการขนส่งสินค้าทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และทางท่อ ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่าย กระจายรายได้ และพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยศึกษาด้านการออกแบบทาง การจราจร การวางแผนการขนส่งระบบราง สนามบิน ท่าเรือ
เกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนที่ การสำรวจเพื่อการก่อสร้างการสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศ การสำรวจข้อมูลระยะไกล ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการดำเนินการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ วิศวกรสาขานี้นับว่ายังขาดแคลนอยู่มากจึงเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมากในอนาคต
เกี่ยวข้องกับการบริหารโครงการ ตั้งแต่การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ไปจนกระทั่งสิ้นสุดการก่อสร้าง วิศวกรจึงจำเป็นต้องมีทักษะรอบด้านทั้งในด้านธุรกิจ การบริหารสัญญา โลจิสติกส์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อบริหารจัดการโครงการอุตสาหกรรมการก่อสร้างซึ่งมีความเสี่ยงสูง
อาคารบุญสม สุวชิรัตน์ (อาคาร 9)
50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900